วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

อนุทิน 10(12/03/55)

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ) 
2. ซอฟต์แวร์ 
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
6.การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่องข่าย

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
1.ฝ่ายวิเคาระห์และออกแบบระบบ
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ
เจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล 
2.ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม
นักเขียนโปรแกรม 
3.ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาเครื่อง 
เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือตอบคำถาม


บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศแบ่งตามตำแหน่งงาน
ผู้บริหารสารสนเทสองค์กรณ์ CIO
ผู้อำนวยการศูนย์ computer
หัวหน้าโครงการ
นักวิเคราะห์
นักเขียนโปรแกรม
ผู้จัดการปฏิบัติการcomputer
พนักงานปฏิบัติการcomputer
พนักงานจัดเวลาการใช้เครื่อง
พนักงานกรอกข้อมูล


 การบ้าน
  • ข้อที่ 1 อาชีพที่หายไปในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
     อาชีพนักพิมพ์ดีด คือพนักงานคีย์ข้อมูลหรือรับจ้างพิมพ์ข้อมูลด้วยเครื่องพิมพ์ดีด
  • ข้อ 2 อาชีพใหม่ ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
    นักเขียนโปรแกรม เป็น คนเขียนโปรแกรมต่างๆ
    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นคนว่างแผนว่าจะออกแบบระบบสารสนเทศอย่างไรซึ่งแต่ก่อนไม่มีอาชีพนี้

อนุทิน 9(5/03/55)

การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่อข่าย
  เพื่อปฏิรูปการศึกาา สนับสนุนหน่วยงานต่างๆ สำหรับการใช้งาน เช่น อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา E-mail
newgroup ftp www chat
  พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อขายแลกเปลี่ยนออนไล มีหลายแบบ B2B , B2C , C2C , B2G 
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล  มีทั้ง สื่อสารทางเดียว เช่น วีดีโอ หนังสือ การสื่อ สาร แบบ  Half Duolex คือ สลับหน้าที่กันในการสื่อสาร หรือ การสื่อสารสองทาง เช่น โทรศัพท์ 
 สัญญาณ มีสองแบบ แบบอนาล็อค คือ สัญญาณ เป็นสัญญารที่มีความต่อเนื่อง แบบดิจิคอล  เป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่อง 
ประเถทการส่งสัญญาณข้อมูล 
การสื่อสารแบบขนาน จะส่งข้อมูลเป็ยชุดๆ การสื่อสารแบบอนุกรม ส่งทีละ 1 บิต
การส่งข้อมูลแบบ อะซิงโคนัส ไม่ต้องติดต่อในครั้งเดียวกัน เช่น ฝากข้อความไว้
                  แบบ ซิงโคนัส ติดต่อในเวลาเดียวกัน เช่น skype

อนุทิน 8(27/02/55)

ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกันระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล
ตัวอย่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนิสิต เช่น ฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด ฐานข้อมูลบัญชีธนาคาร
ฐานข้อมูลการลงทะเบียน ฐานข้อมูลATM ฐานข้อมูลมือถือ
ตัวอย่างฐานข้อมูลในองค์กรณ์ จะแบ่งตามฝ่ายงานต่างๆ โดลหลักๆมัดังนี้
ฝ่ายบุคคล ระบบธุรการ มี ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลการฝึกอบรม
ฝ่ายวัสดุ ระบบวัสดุ มี ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลผู้จัดส่ง
ฝ่ายขาย ระบบงานขาย มี ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลการขาย
ฝ่ายบัญชี ระบบบัยชี ฐานข้อมูลบัญชี  เป็นต้น

นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล 
  
บิท (Bit)                หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte)           หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field)  หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้ว ได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record)            หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File)    หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน



ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง

2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)

3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย

4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น

5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ

6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม

7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง


รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น

3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน หัวลูกศร

อนุทิน 7(29/02/55)

วันนี้อาจารย์สอนเรื่องโปรแกรม ซอฟต์แวร์ต่างๆ มีความแตกต่างกันตามความต้องการใช้งาน
ตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปจะมีซอฟต์แวรืที่ใช้งานทั่วไป มีขายในท้องตลาด เช่น โปรแกรมไมดครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล
และโปรแกรมที่มีความเฉพาะ เช่น โปรแกรมคิดภาษี
หลักในการเลือกใช้โปรแกรม คือ เลือกให้ตรงกันความต้องการใช้งาน และความสะดวกของผู้ใช้
 ความรู้ที่ได้ ได้รู้ความหลาดหลายของซอฟ์ตแวร์ และการเลือกใช้

อนุทินครั้งที่ 6(13/02/55)

Hardware
อุปกรณ์รับข้อมูล ( Input Device )
1Keyboard
2.Mouse มี3แกนในการควบคุม เริ่มจาก Machanical ต่อมาเป็น Optical Mouse ใช้แสงในการควบคุม แล้วเป็น Wireless Mouse ใช้แบตเตอรี่ ยิงแสงอินฟาเรด 
3Trackball
4Joystick
5Bar code reader
6Scanner
7เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง Optical Character Reader : OCR
8เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก : MICR
9ปากกาแสง Light pen
10จอสัมผัส Touch screen
11กล้องถ่ายภาพดิจิตอล Digital camera
12Microphone
13Disk Drive 

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล
1หน่วยควบคุม Control Unit : CU มี 2 ส่วน Address Word และ Instruction word
2หน่วยคำนวนและเปรียบเทียบ Arithmatic and Logic Unit : ALU มีหน่วยความจำชั่วคราวที่ใช้เก็บค่าและข้อมูลต่างๆ เรียกว่า "Register"
3หน่วยความจำ Memory Unit

Output Unit
1Monitor มี3ประเภท Carthode Ray Tube (CRT) Liquid Crystal Display (LCD) Touch Screen
2Printer มี3ประเภท 1Dot Matrix Printer 2Inkjet Printer มีข้อจำกัดคือเวลาเปียกน้ำจะเลือะ 3Laser Printer
3Plotter
4Sound Speaker

นามสกุลไฟล์ภาพและนามสกุลเสียง

ไฟล์รูปภาพ
Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshopบันทึกแบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้แก้ไขได้ในภายหลัง      
JPEG , JPG (.jpg) คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัดขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก
BMP (.bmp) แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้
 GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณ-สมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation
TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์
EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap
PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB เท่านั้น
PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพเอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี
RAW (.raw) นามสกุลใหม่ เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ไม่มีการบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน


ทั้งหมดที่กล่าวมา GIF (.gif)  มีขนาดเล็กที่สุด ส่วนRAW (.raw) มีขนาดใหญ่ที่สุด

ไฟล์เสียง
Waveไฟล์ Wave (เวฟ) ที่มีนามสกุล .wav เป็นไฟล์ข้อมูลคลื่นเสียงที่บันทึกจากเสียงอนาล็อกเป็นรูปแบบดิจิตอล เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ คล้ายกับการบันทึกเทปแต่เป็นการบันทึกไว้ในดิสก์ของคอมพิวเตอร์แทน Wave เป็นรูปแบบไพล์พื้นฐานของระบบพีซี มีขนาดไฟล์ใหญ่ สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ มีระดับความละเอียดน้อยมาก

CD Audio
เป็นแทร็กเสียงดิจิตอลที่รูปแบบเหมือนกับไฟล์ Wave บรรจุไว้ในแผ่นซีดีเพลงด้วยรูปแบบพิเศษเฉพาะ ถ้าใส่แผ่นซีดีเพลงเข้าไปในไดรฟ์ซีดีรอมแล้วเปิด My Computer จะเห็นชื่อไฟล์ในแผ่นซีดีมีนามสกุลเป็น . cda เช่นไฟล์ trac1.cda ซึ่งมันไม่ใช่ไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่าง Wave หรือ MP3 จึงไม่สามารถก๊อบปี้แทร็ก CD Audio เก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ได้

MP3
MP3 (นามสกุล .mp3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบีบอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมากสำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถก๊อบปี้เก็บไว้ในฮารด์ดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน ก่อนที่จะสร้างไฟล์ MP3 ได้ ต้องใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงจากภายนอกให้เป็นไฟล์ Wave แล้ว จากนั้นจึงเข้ารหัสบีบอัดให้กลายเป็น MP3 หรือต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถบันทึกและเข้ารหัส MP3 ในทันทีได้

WMA
WMA (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า MP3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า MP3 คุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ MP3

RA
RA (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงสำหรับใช้กับโปรแกรม Real Player โดยเฉพาะ มีพื้นฐานมาจากไฟล์ Wave แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก

MIDI
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) (อ่านว่า “มิดี้”) ที่มีนามสกุล .mid เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่ถูกบันทึกหรือโปรแกรมเอาไว้ เช่น เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ตัวโน๊ต ความเร็วจังหวะ ฯลฯ สำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ดนตรี เช่น ซาวนด์การ์ด หรือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เมื่อข้อมูลถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่อุปกรณ์ดนตรีจะทำให้ อุปกรณ์ดนตรีจะเล่นดนตรีตามข้อมูลในไฟล์ เหมือนกับคนอื่นมาเล่นดนตรีให้ฟังในวงการดนตรี MIDI คือลักษณะการต่อเชื่อมเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล ใช้อ้างถึงความสามารถในการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีผ่านทางพอร์ต MIDI (ช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ) โดยเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อสั่งให้ทำงานหรือส่งเสียงตามที่ต้องการได้