วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศและความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศแต่ละตัวมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างมากเพราะหากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็จะทำให้ระบบสารสนเทศที่มีไม่สมบูรณ์หรือไม่มีประสิทธิภาพ
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
1.ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
2.ซอฟต์แวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
 
 
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวรับคำสั่ง ตัวแสดงผลของการกระทำของคำสั่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ป้อนเข้าไป และตัวประมวลผล ถ้าฮาร์ดแวร์ดี รวดเร็วก็จะทำให้งานของเราออกมามีคุณภาพ
 
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
 
ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

บุคลากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

อนุทิน 5 (23/01/2012)

 ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

            คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
    หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น


          คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
    ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไปโดยส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal


            คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
    เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้นการทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม

                ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ



         เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
        หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็วเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น



            เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
    หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น

             ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบ
    จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

            ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

            เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง 

            มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
   ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

            ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
    เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.    แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2.    แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) มี 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำสำรองหรือสื่อบันทึกข้อมูล

ซอฟต์แวร์ (Software) ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ส่งให้หน่วยย่อยๆในฮาร์ดแวร์ทำงานโดยชุดคำสั่งถูกเขียนด้วยโปรแกรมภาษา ที่เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของหน่วยงานต่างๆในฮาร์ดแวร์ให้ทำงานประสานกัน และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานไว้แล้ว เช่น สามารถนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้งานของตนเองได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ

บุคลากร (Peopleware) ประกอบด้วย 3 ฝ่ายงาน คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ

ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ Human Error, Data Error, Program Logic Error

ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure) ขั้นตอนการเข้าลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินผลการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้บริการจองใช้ทรัพยากรอาคารเรียนรู้ สำนักห้องสมุด มก.

การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่อข่าย (Data Communications and Network System) เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลางจะเชื่อมต่อผ่านช่องทางการสื่อสารอาจเป็นแบบใช้สายหรือไร้สาย ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยช่องทางโทรคมนาคม


เครือข่าย (Network) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 
1.เครือข่ายระยะใกล้ (LAN) 
2.เครือข่ายระหว่างเมือง (MAN) 
3.เครือข่ายระยะไกล (WAN)

อนุทิน 4 (16/01/2012)

การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management”
Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กรไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น

คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ความรู้ 
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

รูปแบบของความรู้ รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม
ขอบเขตและเป้าหมาย KM 
ก่อน ที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่น ดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย
KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา
แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม

การบ้าน

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925)เป็นนักกฎหมาย ที่ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษามีทั้งหมด 16 ข้อ กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้

 
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

อ้างอิง  http://ltt.edu.ku.ac.th/LTT4/22Ebook/MIS_pdf/B2.pdf


เมื่อนำทั้ง16ข้อมาจัดว่าอยู่ในกระบวนการใด
 
Input
 
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
 
 
Process
 
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
 
 
Output
 
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

อนุทิน 3 (09/01/2012)

การบริหารจัดการ 4 M
  • Man-บุคลากร
  • Management-การบริหารจัดการ
  • Money-งบประมาณ
  • Meterial-วัสดุอุปกรณ์
องค์กรณ์ (Organ) Vs องค์การ (Organization)
องค์กรณ์ (Organ) คือ ส่วนประกอปของหน่วยใหญ่ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นตรงต่อกัน
องค์การ (Organization) คือ ศูนย์กลางของกิจกรรมที่รวมกันประกอปกันขึ้นเป็นหน่วยหรือหลายๆองค์กรย่อยรวมกันเป็นองค์การ

ความสัมพันธ์ของข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ
Data (ข้อมูลดิบ) ข้อเท็จจริงที่มีความถูกต้องและมีอยู่จริง  ยังไม่ผ่านการประมวลผล
Process(ประมวลผล) เป็นกระบวนการตั้งแต่การรับข้อมูล ผ่านอุปกรณ์การรับข้อมูลวิธีการประมวลได้แก่ การเก็บบันทึก การรวบรวม การจัดเรียง การจัดกลุ่ม การคำนวน แก้ไข เรียกใช้ และสุดท้ายทำการแสดงผลลัพธ์ออกผ่านอุปกรณ์แสดงผล
Information (สารสนเทศ) จัดเป็นส่วนของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลข้อมูลที่เสร็จสิ้น จัดให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย เช่น กราฟ ตารางเปรียบเทียบ



โครงสร้างองค์กรสารสนเทศ 
แบ่งตามบทบาทหน้าที่ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1. บุคลากรระดับปฏิบัติการ
2. ผู้บริหารระดับต้น
3. ผู้บริหารระดับกลาง
4. ผู้บริหารระดับสูง




ระบบสารสนเทศขององค์กร
1.ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง TPS
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
4.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ELS
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ ES/Artificial Intelligence
6.ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS และระบบสำนักงานอัตโนมัติ OSA

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบของคอมพิวเตอร์

ผลกระทบที่มีผลต่อสังคมในทางที่บวก       

1.ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญในการช่วยให้งานค้นคว้าด้านเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก  เพราะสามารถช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำได้มาก่อนตัวอย่างง่ายๆ  เช่น  การการควบคุมการส่งดาวเทียม  ส่งยานอวกาศ  การคำนวณออกแบบอาคารหรือโครงสร้างใหญ่ๆ  เป็นต้น                                                       

 2.ช่วยส่งเสริมด้านความสะดวกสบายของมนุษย์  คอมพิวเตอร์สามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างๆ ได้อย่างสบายยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นในสำนักงาน  โรงงานอุตสาหกรรมโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า  โรงพยาบาล  เครื่องบิน  รถยนต์  ฯลฯ  คอมพิวเตอร์ ช่วยจัดลำดับงาน  ช่วยพิมพ์ ช่วยควบคุมเครื่องมือต่างๆ ให้ทำงานอย่างเที่ยงตรง  และมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยให้เรามีเวลาพักผ่อนและคายความเครียดจากการทำงานได้มาก                                  

3.ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์  คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ท้าทายปัญญาความคิดของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์จะเป็นผู้เขียนคำสั่งบงการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ  แม้คอมพิวเตอร์จะทำให้เราคิดคำนวณน้อยลงแต่เราก็ใช้ความคิดในการสั่งงานในการแก้ไขปัญหามากขึ้นกว่าเดิม

4.ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย  เช่น คอมพิวเตอร์ใช้ส่งข่าวสารของรัฐไปสู่ทุกครอบครัวโดยตรง   ใช้รับข้อมูลความคิดเห็นจากประชาชน  ประมวลผลข้อมูลที่ได้รับเพื่อให้ได้ข้อสนเทศที่เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจของรัฐบาล  และจัดทำสถิติข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็วเพื่อดำเนินงานตามความต้องการของประชาชนได้ทัน  นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง  ทำให้ทราบผลคะแนนอย่างรวดเร็ว                                          

5.ช่วยส่งเสริมสุขภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยให้การค้นคว้าทางด้านการแพทย์เจริญรุดหน้าไปมาก  ดังจะเห็นว่ามีเครื่องตรวจหัวใจ  เครื่องตรวจสมองเครื่องตรวจวัดสายตาที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมเป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยในงานแลกเปลี่ยนข้อมูลแลผลวิจัยทางการแพทย์โดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั่วโลกช่วยในด้านการวินิจฉัยโรค  และช่วยในการสกัดและป้องกันโรคบาดด้วย  ผลก็คือ  ประชาชนมีสุภาพดีและมีชีวิตยืนยาวยิ่งขึ้น

ผลกระทบที่มีผลต่อสังคมในทางลบ                                        

1.เกิดความวิตกกังวล   แม้การใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยทุ่นแรงคนไปได้มากก็จริง  ในขณะเดียวกันก็สร้างงานทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นจากความต้องการใช้คนที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อีกมากเป็นการทดแทน  ดังนั้นจึงเท่ากับเปลี่ยนลักษณะงานจากการใช้แรงงานเป็นการใช้สมองการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคนงานเดิมที่มีการศึกษาน้อยอยู่บ้างแต่ถ้าคนงานสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ก็จะไม่ประสบปัญหาดังกล่าว  อย่างไรก็ตามผลกระทบนี้คงจะเกิดขึ้นไม่นาน  เมื่อการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆขยายตัวหรือ ถ้าหากหน่วยงานต่างๆ ได้วางแผนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้โดยรอบคอบแล้ว  ผลกระทบนี้ก็จะลดน้อยลง

2.ทำให้เกิดการเสี่ยงทางด้านธุรกิจ  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านธุรกิจอย่างเต็มที่เท่ากับเป็นการฝากลมหายใจไว้กับคอมพิวเตอร์  ถ้าหากไม่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ  ที่เป็นหัวใจของธุรกิจให้มั่นคงแล้วบังเอิญข้อมูลนั้นสูญหายไปด้วยประการใดก็ตาม  จะทำให้ธุรกิจนั้นถึงกับหายนะได้  แต่ถ้ามีการป้องกันข้อมูลต่างๆ โดยรอบคอบ  เช่น ถ้ามีการสำเนาข้อมูลเก็บไว้ต่างหากแล้วแม้ข้อมูลที่ใช้จะสูญเสียไปก็อาจนำข้อมูลสำรองมาใช้งานได้           

3.ทำให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การขโมยโปรแกรมและข้อมูลไปขายให้คู่แข่ง  ทำให้คู่แข่งขันได้เปรียบเพราะล่วงรู้ข้อมูลและแผนการทำงานของเราได้  นอกจากนี้ยังอาจมีการแอบใช้คอมพิวเตอร์ลักรอบแก้ไขดัดแปลงตังเลขในบัญชีของธนาคารโดยไม้ถูกต้องเป็นผลให้กิจการเสียหายได้  อาชญากรรมเหล่านี้จะเกิดมากขึ้นตามการขายตัวของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคต  และจำเป็นต้องมีการศึกษาหาทางป้องกัน

4.ทำให้มนุษย์สัมพันธ์เสื่อมถอย การที่คนเราใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้น   ใช้เวลาในการสั่งงานและโต้ตอบกับเครื่องมากขึ้น  จะทำให้เกิดความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเราน้อยลง  เพราะการใช้งานคอมพิวเตอร์มีลักษณะของการสั่งงานข้างเดียวโดยไม่ต้องสนใจว่าเครื่องจะคิดอย่างไรต่อไปนานๆ เข้าคนอาจติดนิสัยในการคิดและทำงานโดยไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น และอาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ได้  อย่างไรก็ตาม  ผลกระทบนี้เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น  ยังไม่แน่ใจว่าจะเกิดจริงหรือไม่                                                     

5.ทำให้เกิดอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ๆ  คอมพิวเตอร์ไม่ใช่แต่จะช่วยในงานด้านค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น  แต่ยังอาจช่วยให้คนบางกลุ่มนำไปใช้ค้นคว้าหาทางสร้างอาวุธใหม่ๆ ที่มีอันตรายร้ายแรงมากๆ ได้ด้วยเช่นกัน

กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม

MIS มีความสำคัญต่อการอาชีวศึกษาอย่างไร 

          พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 4  นิยาม การอาชีวศึกษา” หมายถึง กระบวนการศึกษา
เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี MIS จึงเป็นส่วนในการพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาเพื่อให้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่องทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

จงวิเคราะห์สภาพปัญหาของ MIS ที่เกิดขึ้นกับ สอศ 

1. ด้านระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
         ต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน  การกระจายของระบบย่อย ขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างยังไม่เป็นสารสนเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ ขาดการประสานงานในแต่ละหน่วยงานร่วมกัน และยังไม่มีข้อมูลที่สนองตอบความต้องการแต่ละหน่วยงานอย่างเพียงพอ
          สภาพปัญหาด้านนี้ทำให้เห็นว่า MIS ยังมีข้อบกพร่องในการทำบางอย่าง ดังนั้นจึงต้องจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อความถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้มากที่สุด เพื่อให้สนองความต้องการของแต่ละหน่วยงาน
2. ด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในปัจจุบัน 
          ปัญหาที่เกิดจากด้านการพัฒนาบุคลกรด้าน ICT ในปัจจุบัน เริ่มน้อยลงเพราะ ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีการส่งเสริมให้ทุกที่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทุกด้านจึงพัฒนาตามไปด้สยเช่นกัน
3. ด้านความต้องการระบบสารสนเทศ
          ในปัจจุบันมีความต้องการของระบบสารสนเทคเป็นอย่างมาก ดันนั้นในปัจจุบันระบบสารสนเทศจึงถูกพัฒนาเพื่อนไปสนองความต้องการในปัจจุบัน

จงอธิบายกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร



            ความแตกต่างระหว่างกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์คือ กระบวนการทำงานสารสนเทศจะมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์สามารถปรับแก้ไขได้ถึงจะนำมาแสดงผล ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาในระบบสารสนเทศนั้น อาจมาจากหลายๆทาง และสามารถนำมาประกอบในสารสนเทศได้

อนุทิน 2 (26/12/2011)

 System concepts 
              
           คือ ระบบการศึกษา ระบบธุรกิจ ฯลฯ  ต้องมีกรอบงาน ต้องมีความเข้าใจในลักษณะและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย ระบบอาจมีข้อมูลเดียว ที่สามารถประเมินค่าได้เลย

ความแตกต่างระหว่าง Data กับ Information

          - Data เป็นข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกระทำหรือกระบวนการใดๆ เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการจัดการข้อมูล จะเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากที่ต่างๆ  โดยข้อมูลสามารถมีการปรับเปลี่ยนได้
          - Information  เป็นการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบง่าย เช่น กราฟ ตาราง  สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ได้เลย มีการนำไปใช้ทางด้านต่างๆ เช่น นำไปใช้ในทางธุรกิจ ทางการศึกษา  



ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

1. ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยในเรื่องของการสร้างโอกาส
4. ช่วยในการสร้างผลิตภัณฑ์และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
5. สร้างทางเลือกในการแข่งขัน
6. ให้ลูกค้าเข้ามาดูข้อมูลในระบบได้
7. ตัดคู่แข่งออกไปได้


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความรวดเร็ว
2. มีความถูกต้องแม่นยำ
3. มีความเชื่อมั่นได้
4. มีความจุในการเก็บข้อมูลมาก

ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์

-  คอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถทำงานเองได้
-  ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนระบบงานใหม่
-  รบกวนการทำงานของระบบงานเดิม

ข้อเสนอแนะ

เนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างเยอะ อยากให้เนื้อหาเป็นภาษาไทยจะได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ